top of page

        อิเหนา

ผู้แต่ง :

พระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๒



รูปแบบการแต่ง :

เรื่องอิเหนานี้ใช้ลักษณะการแต่งแบบกลอนบทละคร โดยมีลักษณะบังคับเหมือนกลอนสุภาพ แต่วรรคแรกมักจะขึ้นด้วย เมื่อนั้น บัดนั้น มาจะกล่าวบทไป ฯลฯ เรียกว่าคำขึ้นต้น โดยคำว่า เมื่อนั้น ใช้กับตัเอกของเรื่องหรือตัวละครกษัตริย์ คำว่า บัดนั้น ใช้กับตัวบทละครสามัญ หรือไม่สำคัญ และคำว่า มาจะกล่าวบทไป ใช้เมื่อขึ้นตอนใหม่ หรือความใหม่ ทั้งนี้จำนวนคำในแต่ละวรรคจะมีไม่เท่ากัน เพราะจะต้องให้เหมาะสมกับท่ารำและทำนองเพลง นอกจากนี้ต้องมีการกำหนดเพลงกน้าพาทย์สำหรับประกอบกิริยาอาการของตัวละครด้วย เช่น เชิด เสมอ เชิดฉิ่ง กราวรำ ฯลฯ และเพลงสำหรับขับร้อง เช่น ร่าย สมิงทรง ชมตลาด นางครญ ฯลฯ พร้อมทั้งบอกจำนวนคำในบทน้นด้วย คือ ๒ วรรคเป็น ๑ คำกลอน


เนื้อเรื่องย่อ :

มาจากพงศาวดารชวา กล่าวถึงกษัตริย์วงศ์เทวัญสื่อองค์ซึ่งเป็นพี่น้องกัน และครองนคร ๔ นคร คือ กุเรปัน ดาหา กาหลัง และสิงหัดส่าหรี อิเหนาแห่งเมืองกุเรปันได้หมั้นหมายกับบุษบาราชธิดาเมืองดาหา ต่อมาได้พบกับจินตะหราก็หลงรักเมื่อถูกบังคับให้เข้าพิธีอภิเษกสมรสกับบุษบา จึงลอบหนีออกจากเมืองไปหาจินตะหรา จนกระทั่งเมื่ออิเหนาไปช่วยท้าวดาหารบกับท้าวกะหมังกุหนิงและได้พบบุษบาก็หลงรัก จึงทำอุบายเผาเมืองดาหา แล้วลักพาบุษบาไป ท้าวอสัญแดหวาโกธรแค้นในการกระทำอันมิชอบของอิเหนา จึงบันดาลให้ลมหอบบุษบาไปตกที่แคว้นปะมอตันอิเหนาต้องฟันฝ่าอุปสรรคมากมายระหว่างตามหาบุษบา จนกระทั่งได้เข้าพิธีอภิเษกสมรส เรื่องจึงจบลงด้วยความสุข


คุณค่า :

ความบันเทิงอย่างสมบูรณ์ที่ได้จากบทละครร้อยกรองประเภทละครรำ ทุกองค์ประกอบของบทละคร

bottom of page