top of page

สามก๊ก

ผู้แต่ง :
แต่เดิมเป็นเรื่องเล่าสู่กันฟังในประเทศจีน ครั้นถึงสมัยราชวงศ์ถัง (พ.ศ. ๑๑๖๑ - ๑๔๔๙) พวกงิ้วได้นำเรื่องสามก๊กมาแสดง ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย ต่อมาในสมัยราชวงศ์หยวน (พ.ศ. ๑๘๒๐ - ๑๙๐๐    ตรงกับสมัยสุโขทัย) และสมัยราชวงศ์ไต้เหม็ง  (พ.ศ. ๑๙๑๑ - ๒๑๘๖) ได้มีการแต่งหนังสือโดยใช้เรื่องพงศาวดารเป็นหลัก นักเขียนผู้หนึ่งชื่อล่อกวนตง ชาวเมืองฮั่งจิ๋ว ได้นำเรื่องสามก๊กมาเขียนใหม่ เรียกว่า "สามก๊กจี่" มีความยาว  ๑๒๐ ตอน ต่อมานักปราชญ์อีก ๒ ท่าน คือ เม่าจงกังกับกิมเสี่ยถ่าง ได้ช่วยกันแต่งคำอธิบายเพิ่มเติมและพิมพ์เรื่องสามก๊กขึ้น เรื่องสามก๊กจึงแพร่หลายอย่างรวดเร็วภายในประเทศจีน ต่อมาได้มีการแปลเป็นภาษาต่างๆรวมทั้งภาษาไทย ซึ่งเจ้าพระยาพระคลัง (หน) ได้เป็นผู้อำนวยการการแปล เมื่อ พ.ศ. ๒๓๔๕

เนื้อเรื่องย่อ :
นื้อเรื่องของสามก๊ก กล่าวถึงการทำสงครามชิงชัยกันระหว่างโจโฉ เล่าปี่ และซุ่นกวนเริ่มเรื่องตั้งแต่กษัตริย์ราชวงศ์ฮั่นอ่อนแอ อำนาจจึงตกอยู่กับขุนนางกังฉิน ทำให้เกิดความระส่ำระสายแตกแยก ต่างรบพุ่งเพื่อแย่งชิงอำนาจกัน   จนเหลือ ๓ ก๊กใหญ่ คือ
วุยก๊ก จ๊กก๊ก และง่อก๊ก ต่างมีอาณาเขตเป็นอิสระ ภายหลังก๊กทั้งสามเสื่อมอำนาจลง มีผู้ตั้งราชวงศ์ใหม่ แผ่นดินจีนจึงกลับรวมกันเป็นอาณาจักรเดียว


จุดเด่น :
พรรณนาที่ให้ภาพที่เด่นชัดแก่ผู้อ่าน และให้ความประทับใจ ภาษาที่ใช้แปลในหนังสือสามก๊กเป็นภาษาไทยที่สมบูรณ์จนเป็นแบบอย่างของการบรรยาย

bottom of page