ว ร ร ณ ค ดี ไ ท ย ♥
เสือโคคำฉันท์
เป็นวรรณคดีประเภทฉันท์ที่มีความยาวมาก เป็นเรื่องแรกของไทย โดยอาศัยเค้าโครงเรื่องจากปัญญาสชาดก
ผู้แต่ง :
พระมหาราชครู
ทำนองการแต่ง :
แต่งเป็นฉันท์เกือบทั้งหมด มีเฉพาะบทสุดท้าย ๒ บท ที่แต่งเป็นโคลงสี่สุภาพ
วัตถุประสงค์ในการแต่ง :
เพื่อใช้เป็นสุภาษิตสอนใจ
สาระสำคัญ :
เสือโคเป็นนิทานพื้นเมืองที่มีการเล่าต่อกันมาช้านาน อันเป็นเรื่องราวระหว่างลูกเสือกับลูกโค ซึ่งต่างมีมิตรไมตรีอันดีต่อกัน ภายหลังฤาษีเสกให้เป็นคนทั้งสองตัว เสือให้เป็นคนชื่อว่า พหลวิชัย อายุมากกว่ามีฐานะเป็นพี่ ส่วยโคให้เป็นคนมีชื่อว่า คาวี มีอายุน้อยกว่ามีฐานะเป็นน้อง จากนั้นลูกเสือกับลูกโคเดินออกมาจากป่า พระฤาษีเห็นเข้าจึงเกิดความสงสารจึงได้ชุบเลี้ยงไว้ วันหนึ่งพระฤาษีถามลูกสัตว์ทั้งสองได้ความว่า วันหนึ่งแม่เสืออกไปล่าเหยื่อ ลูกเสือถูกที้งไว้นานหิวนมมากลูกโคเห็นจึงเกิดความสงสาร ได้บอกให้แม่โคให้นมแก่ลูกเสือด้วย ลูกเสือได้กินนมแม่โคจึงเกิดความรักต่อลูกโคและแม่โค เมื่อแม่เสือกลับมา ลูกเสือได้ขอร้องให้แม่เสือเลิกทำร้ายแม่โคกับลูกโค แม่เสือรับคำแต่ทำไม่ได้ ภายหลังได้กินแม่โค ลูกเสือกับลูกโคไม่พอใจ จึงรวมกันทำร้ายแม่เสือจนตาย จากนั้นก็ชวนกันออกมาจากป่าเดินมาเรื่อยๆ จนพบฤาษี ได้รับการชุบเลี้ยงให้เป็นคน
ต่อมาทั้งสองกราบลาพระฤาษีเพื่อไปยังเมืองจันทบูรนคร คาวีได้เจอกับยักษ์ทำการต่อสู้กัน คาวีฆ่ายักษ์ได้ พระเจ้ามคธผู้ครองเมืองนั้นจึงยกพระธิดาพระนามว่า สุรสุดาเป็นพระชายา แต่คาวีมีความกตัญญูต่อพี่พหลวิชัย จึงกราบทูลให้พระราชทานให้กับพหลวิชัย คาวีจากพหลวิชัยเพื่อเดินทางต่อไปจนถึงเมืองร้างเมืองหนึ่ง มีนามว่า รมยนคร ที่เมืองนี้มีความอดอยากถึงขนาดนกอินทรีต้องจับผู้คนกินเป็นอาหาร คาวีพบกล่องใบใหญ่ใบหนึ่ง เมื่อลองแกะดูก็พบพระธิดาจันทร์หอมผู้เป็นพระธิดาของท้าวมัททราชอยู่ในนั้น คาวีทำการปราบนกอินทรีใหญ่ตายแล้ว ก็ได้พระธิดาจันทร์เป็นชายาและได้ครองเมืองรมยนคร ต่อมา พระนางจันทร์สุดา สรงน้ำแล้วก็นำเส้นผมใส่ผอบปล่อยให้ลอยน้ำไป กษัตริย์เมืองพัทธพิลัยนามว่าท้าวยศภูมิ เก็บผอบได้แล้วทรงเปิดผอบออกมา ก็ปรากฏมีเส้นผมอยู่ในนั้น เส้นผมนั้นเป็นเส้นผมที่หอมมากมีกลิ่นหอมอบอวลพาให้หลงใหล
กษัตริย์เมืองพัทธภูมิทรงใช้ให้นางทาสีไปทำอุบายหลอกถามความลับเกี่ยวกับพระขรรค์จากพระนางจันทร์สุดา ทราบว่าชิวิตของพระคาวีอยู่ในพระขรรค์จึงเอาไปเผาเสีย ทำให้คาวีสิ้นพระชนม์ แล้วนางทาสีก็พานางจันทสุดาไปถวายท้าวยศภูมิ แต่ด้วยอำนาจของความซื่อสัตย์ ความจงรักภัคดีของนางจัทร์สุดาที่มีต่อคาวี จึงทำให้พระวรกายของพระนางจันทร์สุดามีความร้อนดั่งไฟ ท้าวยศภูมิไม่อาจเข้าใกล้ได้เลย ทำให้รอดพ้นจากการล่วงเกินใดๆ
ฝ่ายพหลวิชัยได้ตามหาคาวีจนช่วยแก้ให้ฟื้นคืนชีพได้ แล้วพาเข้าเมืองพันธพิสัยเพื่อตามหานางจันทร์สุดา พหลวิชัยปลอมตัวเป็นฤาษี รับอาสาชุบตัวท้าวยศภูมิให้เป็นคนหนุ่มหล่อ ระหว่างทำพิธีอยู่ เมื่อท้าวยศภูมิเผลอก็ผลักท้าวยศภูมิเข้าไปในกองไฟ เมื่อฆ่าท้าวยศภูมิสำเร็จแล้ว ก็ให้คาวีแต่งตัวเป็นกษัตริย์ครองราชย์สมบัติอยู่เมืองพัทธพิสัยร่วมกับพระนางจันทร์สุดา
ตัวอย่างสำนวนกวี :
ลูกเสือและลูกโคร่วมกันทำร้ายแม่เสือจนสิ้นชีวิต
บัดนั้นลูกพยัคฆ์ ใส่กลทำรัก แม่เข้าไปหา
เคล้าคลึงเคลียชม ตระบัดโกรธา แหงนกัดกรรฐา คอขาดบัดใจ
ลูกโคเข้าขวิด ไส้พุ่งโลหิต เรี่ยรายลามไหล
ด่าวดิ้นท่าวล้ม กลิ้งเกลือกเสือกใน วนาอาไศรย สิ้นหายวายปราณ
คุณค่าของเสือโคคำฉันท์ :
1. ในด้านอักษรศาสตร์ มีเนื้อหาสนุกสนานน่าติดตาม ถ้อยคำสำนวนไพเราะ ใช้ถ้อยคำได้เหมาะสมกับฉันท์ชนิดต่างๆ
2. ในด้านพระพุทธศาสนา ให้คติธรรมเกี่ยวกับการรักษาความสัตย์ เกิดเป็นคนควรรักษาความสัตย์ไว้กับตัว มีพุทธภาษิตกล่าวไว้ว่า จะมีชื่อเสียงเพราะความสัตย์