top of page

มหาชาติคำหลวง

คำว่า “มหาชาติ” แปลว่า  พระชาติอันยิ่งใหญ่ หรือ พระชาติที่สำคัญ  หมายถึงเรื่องเวสสันดรชาดก  ซึ่งเป็นเรื่องของพระเวสสันดรโพธิสัตว์  ก่อนที่จะมาประสูติและตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า  ในพระชาตินี้  พระโพธิสัตว์ได้ทรงบำเพ็ญบารมีครบ ๑๐  ประการ  เรียกว่า  “ทศบารมี”  คือ  ทานบารมี  ศีลบารมี  เนกขัมบารมี  ปัญญาบารมี  วิริยบารมี  อธิษฐานบารมี  สัจจบารมี  ขันติบารมี  เมตตาบารมี และอุเบกขาบารมี  จึงถือว่าเป็นพระชาติสำคัญ  เรียกว่า  “มหาชาติ”  เป็นพระชาติหนึ่งในทศชาติ  พุทธศาสนิกชนถือว่าทศชาตินั้นสำคัญและศักดิ์สิทธิ์ถึงกับจดชื่อ ย่อของชาดกทั้งสิบไว้ท่องจำเพื่อเป็นสิริมงคล   เรียกว่า  “หัวใจพระเจ้าสิบชาติ”  หรือ  “หัวใจทศชาติ”  เรื่องมหาชาติ  เดิมแต่งเป็นภาษาบาลี  เป็นฉันท์ปัฐยาวัตร  มีทั้งหมด ๑,๐๐๐  คาถา จึงเรียกว่า “คาถาพัน”
          คำหลวง  หมายถึง  หนังสือที่มีลักษณะ ดังนี้
          ๑.  พระมหากษัตริย์ หรือ ราชวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ทรงพระราชนิพนธ์ หรือ โปรดให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่งขึ้น
          ๒.  แต่งด้วยคำประพันธ์หลายชนิดมีทั้ง โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน และร่าย  เช่น  มหาชาติ
คำหลวง  พระนลคำหลวง
          ๓.  แต่งได้ดีถูกต้องตามลักษณะฉันทลักษณ์  สามารถยึดเป็นแบบอย่างและสามารถสวดเข้าทำนองหลวงได้  หนังสือที่มีลักษณะการแต่งอย่างมหาชาติคำหลวง  เช่น นันโทปนันทสูตร
คำหลวง และพระมาลัยคำหลวง



ผู้แต่ง :
หนังสือมหาชาติคำหลวง  เป็นหนังสือที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถโปรดให้นักปราชญ์ราชบัณฑิต ช่วยกันแปลจากมหาชาติภาษาบาลี  และแต่งขึ้นเป็นคำประพันธ์ประเภท  โคลง  ฉันท์  กาพย์  กลอน  และร่าย  ในปีขาล  จ.ศ. ๘๔๔  ตรงกับ พ.ศ. ๒๐๒๕  เมื่อคราวฉลองวัดพระศรีมหาธาตุ  เมือพิษณุโลก  แต่ไม่บอกนามผู้แต่ง  ดังปรากฏในพระราชพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติว่า  “ศักราช ๘๔๔ ปีขาลศก  ท่านให้เล่นการมหรสพ ๑๕ วัน ฉลองวัดพระศรีมหาธาตุ  แล้วทรงนิพนธ์มหาชาติคำหลวงจนจบบริบูรณ์”
                เมื่อเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า พ.ศ. ๒๓๑๐  มหาชาติคำหลวงได้สูญหายไป ๖ กัณฑ์ คือ กัณฑ์หิมพานต์  กัณฑ์ทานกัณฑ์  กัณฑ์จุลพน  กัณฑ์มัทรี  กัณฑ์สักกบรรพ และกัณฑ์ฉกษัตริย์  พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งขึ้นใหม่ เมื่อ พ.ศ. ๒๓๕๘  เป็นสำนวนที่ไพเราะใกล้เคียงกับของเดิม  มหาชาติคำหลวงจึงมีครบบริบูรณ์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์


ประวัติ : 
มหาชาติ คำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติฉบับภาษาไทย และเป็นประเภทคำหลวงเรื่องแรก เรื่องเกี่ยวกับผู้แต่งและปีที่ แต่งมหาชาติคำหลวง ปรากฏหลักฐานในเรื่องพงศาวดารฉบับคำหลวงกล่าวยืนยันปีที่แต่งไว ้ตรงกับมหาชาติคำหลวงเดิมหายไป ๖ กัณฑ์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระบรมราชโองการให้พระราชาคณะและนักปราชญ์ราชบัณฑิตแต่งซ่ อมให้ครบ ๑๓ กัณฑ์ เมื่อจุลศักราช  ๑๑๗๖ (พุทธศักราช ๒๓๔๗)


ทำนองแต่ง :
แต่งด้วยคำประพันธ์หลายอย่าง คือ โคลง ร่าย กาพย์ และฉันท์ มีภาษาบาลี แทรกตลอดเรื่อง  มหาชาติคำหลวงเรื่องนี้เป็นหนังสือประเภทคำหลวง   แต่งโดยนำภาษาบาลีซึ่งเป็นคำฉันท์ของเดิมมาตั้งสั้นบ้างยาวบ้าง  แล้วแปลแต่งเป็นภาษาไทยสลับกันไป  บางแห่งแต่งเป็นฉันท์  บางแห่งแต่งเป็นโคลง  บางแห่งแต่งเป็นกาพย์  แต่ส่วนมากแต่งเป็นร่ายยาว   พยายามให้ตรงกับฉบับเดิม  ไม่ได้ขยายตกแต่งเนื้อความให้พิสดารออกไปมากนัก


ความมุ่งหมาย : 
เพื่อใช้อ่านหรือสวดในวันสำคัญทางศาสนา เช่น วันเข้าพรรษา และอาจเรียกตามพระธรรมราชาลิไท ซึ่งพระราชนิพนธ์เรื่องไตรภูมิพระร่วง
          การแต่งมหาชาติคำหลวงนี้  มีจุดมุ่งหมายเพื่อใช้อ่านหรือสวดให้อุบาสกอุบาสิกาฟัง  ไม่ได้ใช้สำหรับเทศน์  ประเพณีการสวดมหาชาติคำหลวงได้สืบกันมาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์  ในพระราชพิธีเข้าพรรษาจะมีเจ้าหน้าที่  คือ  ขุนทินบรรณาการและขุนธารกำนัล  อันเป็นตำแหน่งในทำเนียบศักดินาพลเรือนกับผู้ช่วยอีก ๒ คน  ขึ้นนั่งเตียงในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม  แล้วสวดมหาชาติคำหลวงเป็นทำนองอย่างเก่า  ถวายพระมหากษัตริย์ทรงสดับเวลาเสด็จพระราชดำเนินไปทรงบำเพ็ญกุศ ล  ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕  เมื่อมีการตั้งโรงเรียนแล้ว  ในเวลาเข้าพรรษา  กลางพรรษาและออกพรรษา  ตามปกติจะมีเจ้าหน้าที่มาสวดมหาชาติคำหลวงในพระอุโบสถ  และให้นักเรียนได้มาสวดกาพย์  เรื่องพระไชยสุริยา  เป็นทำนองต่าง ๆ ตามศาลารายรอบพระอุโบสถ  เรียกกันว่า “สวดโอ้เอ้วิหารราย” (โอ้เอ้ศาลาราย)


เรื่องย่อ :
เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๑๓ กัณฑ์  ได้แก่
          ๑.  กัณฑ์ทศพร  กล่าวถึงพระนางผุสดีชายาของพระอินทร์  รับพรสิบประการจากพระอินทร์ก่อนจุติจากสวรรค์ลงมาเป็นพระมารดาข องพระเวสสันดร
          ๒.  กัณฑ์หิมพานต์  กล่าวถึงพระนางมัทรีทูลพรรณนาป่าหิมพานต์ถวายพระเวสสันดรเมื่อพ ระองค์ถูกขับออกจากพระนครเพราะได้พระราชทานช้างปัจจัยนาเคนทร์ใ ห้แก่พราหมณ์เมือง
กลิงคราษฎร์
          ๓.  กัณฑ์ทานกัณฑ์  กล่าวถึงสตสดกมหาทานที่พระเวสสันดรทรงบริจาคก่อนเด็จออกจากพระน คร
          ๔.  กัณฑ์วนปเวสน์  กล่าวถึงพระเวสสันดรเด็จออกจากพระนครไปสู่ป่าใหญ่
          ๕.  กัณฑ์ชูชก  กล่าวถึงชูชกซึ่งเป็นต้นเหตุให้พระเวสสันดรได้ทรงบำเพ็ญบุตรทาน
          ๖.  กัณฑ์จุลพน  เป็นการกล่าวของพรานเจตบุตรพรรณนาป่าให้ชูชกฟัง
          ๗.  กัณฑ์มหาพน  เป็นการกล่าวของอัจจุตฤษี  พรรณนาป่าใหญ่ให้ชูชกฟังเพื่อชี้ทางไปพบพระเวสสันดร
          ๘.  กัณฑ์กุมาร  กล่าวถึงชูชกพบพระเวสสันดรทูลขอชาลี-กัณหา  พระเวสสันดรประทานสองกุมารแก่ชูชก
          ๙.  กัณฑ์มัทรี  กล่าวถึงพระนางมัทรีเสด็จกลับจากหาผลไม้ในป่าไม่พบสองกุมารก็เศ ร้าโศกจนสลบไป
          ๑๐.  กัณฑ์สักกบรรพ  พระอินทร์แปลงเป็นพราหมณ์ทูลขอพระนางมัทรีและประทานพร
๘ ประการให้แก่พระเวสสันดร
          ๑๑.  กัณฑ์มหาราช  ชูชกหลงทางพาสองกุมารเข้ากรุงสีพี  ทำให้พระเจ้ากรุงสญชัยได้พบสองกุมาร  จึงไถ่ตัวสองกุมารจากชูชก  ชูชกบริโภคเกินขนาดจนท้องแตกตาย  พระเจ้ากรุงสญชัยเด็จไปรับพระเวสสันดรกลับพระนคร
          ๑๒.  กัณฑ์ฉกษัตริย์  พระเจ้ากรุงสญชัย  พระนางผุสดี  พระเวสสันดร  พระนางมัทรี  ชาลี กัณหา พบกันต่างดีใจจนสลบ  พระอินทร์บันดาลให้ฝนโบกขรพรรษตกต้องกษัตริย์ทั้งหกจึ้งฟื้น
          ๑๓.  กัณฑ์นครกัณฑ์  พระเวสสันดรเสด็จกลับพระนครสีพี


ตัวอย่างมหาชาติคำหลวง :
          ปตฺตปฏิลาโภ  ปญฺจโม  วโร     อนนว่าข้าขอมีลูกชาย  จงฤาสายในแหล่งหล้า  เป็นพรคำรบ
                                                           ห้าประการ  โสตแล
          อนุนฺนตกุจฺฉิตา  ฉฏฺโฐ  วโร     อนนว่าสวภาพท้องบมีทรวดเสมออก  เป็นพรคำรบหกสิ่งแล                                                                                                                             
          สงฺคีติโยว  สุยฺยเร     จักจั่นแลปักษี  ดุจดนตรีตระสักสวรรค์
          นชฺชุหา  โกกิลา        ภูลโตกดุเหว่าพรรณ  กรสัลถ้อใสสยงหวาน
          สมฺปตนฺติ  ทุมา  ทุมํ  รายรยงจับไม้แมก  ร้องขานแขกรลุงลาญ
          อวฺหยนฺเตว  คจฺฉนฺตํ   ไม้ไล่ใสใยงหวาน  สารดุจร้องรยกฝูงคน     (กัณฑ์มหาพน)


คุณค่าของหนังสือ :
         ๑.  ด้านภาษาและสำนวนโวหาร  มหาชาติคำหลวงเป็นหนังสือมหาชาติเล่มแรกและเป็นหนังสือประเภทคำ หลวงเล่มแรก  ภาษาไพเราะ  ได้รับรสวรรณคดีพร้อมมูลไม่ว่าจะเป็นการแสดงความรัก  ความอาลัย  และการชมธรรมชาติ  เพราะเป็นการประชุมนักปราชญ์ราชบัณฑิตช่วยกันแต่ง  จึงต่างประกวดประชันฝีปากตน  การแปลก็พยายามรักษาความให้ตรงตามภาษาบาลีต้นฉบับเดิมมากที่สุด  นับว่าเป็นวรรณคดีชั้นเยี่ยมเล่มหนึ่ง  นัก วรรณคดีมีความเห็นว่ากัณฑ์ทศพรมีสำนวนเก่า เช่น เชี้ย (เชื้อเชิญ) แต่งแง่ บ่าว เที้ยร กรรณเช้า (กระเช้า) กรช่าง(กระจ่าง) แพศยันดร(เวสสันดร) เป็นต้น  จึงอาจใช้ค้นคว้าศึกษาคำศัพท์โบราณและสำนวนภาษาในสมัยกรุงศรีอย ุธยาตอนต้นได้  นอกจากจะใช้ศึกษาวิวัฒนาการทางภาษาทั้งภาษาโบราณและคำแผลงในมัย นั้นแล้วยังเป็นตัวอย่างของการแต่งคำประพันธ์ในสมัยหลังด้วย   ตลอดจนตัวอย่างของการแปลภาษาบาลี  แล้วแต่งเป็นภาษาไทย  โดยวิธียกคาถาภาษาบาลีแล้วแปลทีละวรรค
          ๒.  ด้านความรู้ 
                ๒.๑  มหาชาติคำหลวงให้ความรู้เกี่ยวกับป่าหิมพานต์อันเป็นความเชื่อข องคนในสมัยนั้น
                ๒.๒  มหาชาติคำหลวงให้ความรู้เกี่ยวกับพรรณไม้  สัตว์ป่าต่าง ๆ
                ๒.๓  มหาชาติคำหลวงให้ความรู้ในด้านสถาปัตยกรรม  ได้แก่เรือนไทยซึ่งกล่าวถึงเรือนของชูกชก
          ๓.  ด้านสังคมและวัฒนธรรม
                ๓.๑  ทางการปกครอง  เป็นวรรณคดีที่ชี้ให้เห็นถึงการที่ประชาชนมีสิทธิ์มีเสียงในการ ปกครองบ้านเมืองของตน  และแสดงให้เห็นถึงความคิดในการปกครองแบบประชาธิปไตย
                ๓.๒  ทางวัฒนธรรม  มหาชาติคำหลวงช่วยให้เข้าใจวัฒนธรรมอินเดียโบราณและกวีได้สอดแท รกชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยสมัยนั้น   ตลอดจนความคิดความเชื่อลงในหนังสือเล่มนี้ 
จึงเป็นหลักฐานแสดงให้เห็นว่าคนไทยได้รับวัฒนธรรมของอินเดียมา  แต่ก็นำมาปรับปรุงตามความนิยมและชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย เช่น  การให้ทาน  การที่สามีเป็นใหญ่ในครอบครัว  การที่ภรรยาซื่อสัตย์ต่อสามี  ฯลฯ
          ๔.  ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น  มหาชาติคำหลวงทำให้เกิดการเทศน์มหาชาติซึ่งสมัยสมเด็จพระเจ้าทร งธรรมได้ทรงพระราชนิพนธ์กาพย์มหาชาติเพื่อใช้เทศน์มหาชาติจนเป็ นประเพณีสืบต่อมาจนทุกวันนี้

bottom of page