top of page

ลิลิตเพชรมงกุฎ

ลิลิตเพชรมงกุฎ เป็นลิลิตที่แต่งขึ้นโดยอาศัยวรรณคดีอินเดียภาคภาษาสันสกฤต เรื่อง เวตาลปัญจวีสติ ซึ่งแต่งโดย ศวิทาส


ผู้แต่ง :
หลวงสรวิชิต (หน) หรือชื่อที่พวกเราคุ้นหูคุ้นตากันนักหนาในฐานะผู้แปลเรื่องสามก๊ก คือเจ้าพระยาคลัง (หน) ท่านผู้นี้เป็นกวีมีชื่อเสียงมีชื่อเดิมว่า หน เป็นบุตรชายของเจ้าพระยาบดินทร์สุรินทร์ฦๅชัย (บุญมี) กับท่านผู้หญิงเจริญ เข้ารับราชการในสมัยกรุงธนบุรี ได้บรรดาศักดิ์เป็นหลวงสรวิชิต เป็นนายด่านเมืองอุทัยธานี ซึ่งอยู่ในบังคับบัญชาของเจ้าพระยาจักรี (ต่อมาคือสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) อยู่รับราชการเรื่อยมาจนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นผู้มีความดีมีความสัตย์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงได้รับการเลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นพระยาพิพัฒน์โกศา และเป็นเจ้าพระยาคลัง เสนาบดีจตุสดมภ์ กรดท่า ทำหน้าที่ควบคุมกิจการหัวเมืองชายทะเล ท่านถึงแก่อสัญกรรม เมื่อ พ.ศ.๒๓๔๘


ลักษณะคำประพันธ์ :
แต่งเป็นลิลิตสุภาพ โดยใช้ร่ายสุภาพกับโคลงสุภาพ

 

จุดมุ่งหมายในการแต่ง  :
เพื่อถวายแด่พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี


เรื่องย่อ : 
เริ่มด้วยการนมัสการนอบน้อมต่อพระอิศวร และไหว้พระมหากษัตริย์แล้วบอกว่าเรื่องนี้นำมาจากนิทานเวตาล
ดำเนินเรื่องว่าพระเพชรมงกุฎเป็นพระราชโอรสของพระเจ้ารัตนนฤเบศร กษัตริย์เมืองศรีบุรี และพระนางประภาพักตร์
พระราชกุมารเพชรมงกุฎนี้ทรงมีพระสิริโฉมงามยิ่งนัก
วันหนึ่ง พระราชกุมารเพชรมงกุฎเสด็จประพาสป่ากับพุฒศรีพี่เลี้ยงทั้งสองตามกวางเผือกเข้าไปในป่าลึกจนหลงทางออกไม่ได้ พวกไพร่พลตามเสด็จไม่ทัน และที่ท่ามกลางป่านั้น พระราชกุมารได้ทรงเห็นภริยาของชายคนหนึ่ง ทรงพอพระทัยยิ่งนักพุฒศรีคัดค้านมิให้พระราชกุมารกระทำอย่างนั้น พระราชกุมารไม่ยอมฟังเสียง ทรงบอกให้พี่เลี้ยงล่อลวงหญิงนั้นมาเป็นภริยาของพระองค์ให้จงได้จนได้เสียกัน
จากนั้นได้เสด็จต่อไปยังเมืองกรรณบุรี ได้ทอดพระเนตรเห็นพระนางปทุมดีพระราชธิดาของพระเจ้ากรุงกรรณบุรี
พระธิดาปทุมดีได้แกล้งทำปริศนาให้พระราชกุมารทายว่าพระนางเป็นใคร พุฒศรีพระพี่เลี้ยงก็ปริศนาให้ได้ทุกครั้งไป ในที่สุดพระราชกุมารได้เข้าไปถึงปราสาท ได้พระธิดาเป็นชายา ต่อมาพระพี่เลี้ยงผู้แสนดีคนนี้ได้ออกอุบายให้พระราชกุมารเพชรมงกุฎสามารถพาพระธิดากลับไปยังบ้านเมืองของพระองค์ได้


คุณค่าของเรื่อง :
                ๑.  ในด้านวรรณคดี เป็นบทประพันธ์ประเภทลิลิตที่แต่งได้ดีพอสมควร เป็นบทกวีที่มีความงดงาม สำนวนโวหารราบเรียบ บางตอนมีท่วงทำนองของลิลิตพระลออยู่เหมือนกัน แต่ไม่แพร่หลายและยังไม่เทียมเท่าลิลิตพระลอ ทั้งไม่เทียมเท่าลิลิตยวนพ่าย และลิลิตตะเลงพ่าย
                ๒.  ในด้านพระพุทธศาสนา ได้แสดงคติธรรมให้รู้จักระงับดับกิเลสตัณหาเสียบ้าง อย่าปล่อยให้กิเลสมันหมุนหัวจนหัวหมุน เป็นต้น

bottom of page