ว ร ร ณ ค ดี ไ ท ย ♥
ลิลิตโองการแช่งน้ำ
ลิลิตโองการแช่งน้ำบางทีเรียกว่า ประกาศโองการแช่งน้ำ หรือประกาศแช่งน้ำโคลงห้า หนังสือเรื่องนี้เป็นวรรณคดีเรื่องเดียวในรัชสมัยสมเด็จพระรามา ธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ที่มีอยู่
ในปัจจุบันและต้นฉบับจารึกเป็นตัวอักษรขอม สันนิษฐานว่าผู้แต่งคงจะเป็นพราหมณ์ผู้กระทำ
พระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา หรือพระราชพิธีศรีสัจจปานกาล ในสมัยสมเด็จพระรามา
ธิบดีที่ ๑ พระราชพิธีนี้เป็นพระราชพิธีที่ข้าราชการทหาร พลเรือนและเจ้าประเทศราช แสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ เป็นพระราชพิธีในราชสำนักขอมอันมีอินเดียเป็นต้นเค้า ในสมัยรัชกาลที่ ๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระแสงศรปลัยวา ต พระแสงศรอัคนิวาต และพระแสงศรพรหมมาสตร์ขึ้น และใช้พระแสงศรทั้ง ๓ องค์นี้ แทงน้ำตอนท้ายบทสรรเสริญเทพเจ้าแต่ละองค์
ผู้แต่ง :
สันนิษฐานว่าแต่งในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง )
ประวัติ :
ต้นฉบับเดิมที่เหลืออยู่เขียนด้วยอักษรขอม ข้อความที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลที่๔ ตามหลักฐานซึ่งรัชกาลที่ ๕ ทรงยืนยันไว้ในพระราชพิธีสิบสองเดือน คือ "แทงพระแสงศรประลัยวาต" "แทงพระแสงศรอัคนิวาต" และ "แทงพระแสงศรพรหมมาสตร์"
ทำนองแต่ง
มีลักษณะเป็นลิลิต คือ มีร่ายกับโคลงสลับกัน ร่ายเป็นร่ายโบราณ ส่วนโคลงเป็นโคลงแบบโคลงห้าหรือมณฑกคติ ถ้อยคำที่ใช้ส่วนมากเป็นคำไทยโบราณ นอกจากนั้นมีคำเขมร และบาลี สันสกฤต ปนอยู่ด้วย คำสันสกฤตมีมากกว่าคำบาลี
ความมุ่งหมาย :
ใช้ อ่านในพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยาหรือพิธีศรีสัจปานกาล ซึ่งกระทำตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าอู่ทองสืบต่อกันมาจนเลิกไป เมื่อประเทศไทยเปลี่ยนแปลงการปกครองมาเป็นระบบประชาธิปไตย ใน พ.ศ. ๒๔๗๕
เรื่องย่อ :
เริ่มต้นด้วยร่ายดั้นโบราณ ๓ บท สรรเสริญพระนารายณ์ พระอิศวร พระพรหมตามลำดับ ต่อจากนั้นบรรยายด้วยโคลงห้า และร่ายดั้นโบราณสลับกัน กล่าวถึงไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์แล้วพระพรหมสร้างโลกใหม่ เกิดมนุษย์ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ การกำหนดวัน เดือน ปี และการเริ่มพระราชาธิบดีในหมู่คน แล้ว อัญเชิญพระกรรมบดีปู่เจ้ามาร่วมเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ ตอนต่อไปเป็นการอ้อนวอนให้สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เรืองอำนาจอันมี พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา อสูร ภูตปีศาจ ตลอดจนสัตว์มีเขี้ยวเล็บเป็นพยาน ลงโทษผู้คิดคดกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดิน ส่วนผู้ซื่อตรงภักดี ขอให้มีความสุขและลาภยศ ตอนจบเป็นร่ายยอพระเกียรติพระเจ้าแผ่นดิน
ตัวอย่างในลิลิตโองการแช่งน้ำ :
สรรเสริญพระนารายณ์ โอมสิทธิสรวงศรแกล้ว แผ้วมฤตยู เอางูเป็นแท่น แกว่นกลืนฟ้ากลืนดิน บินเอาครุฑมาขี่ สี่มือถือสังข์จักร คทาธรณีกีรุอวตาร อสุรแลงลาญทัก ททักคนีจรนาย(แทงพระแสงศรปลัยวาต)
ไฟไหม้โลกเมื่อสิ้นกัลป์
นานาอเนกน้าวเดิมกัลป์ จักร่ำจักรพาลเมื่อไหม้
กล่าวถึงตระวันเจ็ดอันพลุ่ง น้ำแล้งไข้ขอดหาย
เจ็ดปลามันพลุ่งหล้าเป็นไฟ วาบจตุรบายแผ่นขว้ำ
ชักไตรตรึงษ์เป็นเผ้า แลบล้ำสิสอง
สาปแช่งผู้คิดคดทรยศ
จงมาสูบเอาเขาผู้บ่ซื่อ ชื่อใครใจคด ขบถเกียจกาย ว่ายกะทู้ฟาดฟัด ควานแกนมัดศอก หอกคนเต้าเท้าหก หลกเท้าให้ไปมิทันตาย หงายระงมระงม ยมบาลลากไป ไฟนรกปลาบปลิ้นดิ้นพลาง เขาวางเหนืออพิจี ผู้บดีบซื่อ ชื่อใครใจคดขบถต่อเจ้า ผู้ผ่านเกล้าอยุธยา สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิศรราชาธิราช ท่านมีอำนาจมีบุญ คุณอเนกาอันอาไศรยร่ม
ให้พรผู้ซื่อสัตย์
ใครซื่อเจ้าเติมนาง ใครซื่อรางควายทอง มิ่งเมืองบุญศักดิ์แพร่ เพิ่มช้างม้าแผ่วัวควาย ใครซื่อฟ้าสองย้าวเรงยิน ใครซื่อสินเภตรา ใครซื่อใครรักษ์เจ้าจงยศ กลืนชนมาให้ยืนยิ่ง เทพายศล่มฟ้า อย่ารู้อันตราย ได้ใจกล้าดังเพชร ขจายขจรอเนกบุญ สมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรบรมมหา จักรพรรดิศรราชเรื่อยหล้า สุขผ่านฟ้าเบิกสมบูรณ์พ่อสมบูรณ์
คุณค่าของหนังสือ :
๑. ด้านภาษาและสำนวนโวหาร ลิลิตโองการแช่งน้ำนี้เป็นลิลิตเรื่องแรกในประวัติวรรณคดีไทย ใช้ถ้อยคำภาษาที่เก่า มีคำภาษาเขมร บาลี สันสกฤต และคำไทยโบราณปนอยู่มาก คำบางคำต้องสันนิษฐานความหมาย ทำให้อ่านเข้าใจยาก ทั้งนี้ก่อให้เกิดความรู้สึกว่าคำมีความขลังและศักดิ์สิทธิ์ เกิดอารมณ์หวาดกลัว ไม่กล้าคิดคดทรยศต่อพระเจ้าแผ่นดิน ลิลิตโองการแช่งน้ำนี้จึงมีคุณค่า สามารถใช้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้คำในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นได้
๒. ด้านสังคมและวัฒนธรรม
๒.๑ ทางการปกครอง เป็นวรรณคดีเกี่ยวกับพระราชพิธีแสดงความจงรักภักดีต่อพระมหากษั ตริย์ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ จึงเป็นวรรณคดีที่มีคุณค่าต่อระบอบการปกครองแบบราชาธิปไตย เพราะเป็นการให้สัตย์สาบานว่าจะซื่อสัตย์จงรักภักดีต่อพระมหากษ ัตริย์และบ้านเมือง ทำให้เกิดความสามัคคีมีผลให้บ้านเมืองเป็นปึกแผ่น
๒.๒ ทางวัฒนธรรม วรรณคดีเล่มนี้เป็นหลักฐานแสดงถึงการได้รับอิทธิพลวัฒนธรรมจากข อมและอินเดีย พิธีพราหมณ์ได้เข้ามาใช้ปะปนในพระราชพิธีต่าง ๆ และยังทำให้เห็นลักษณะการปกครองที่พระมหากษัตริย์ทรงเป็นสมมติเ ทวราชอีกด้วย
๒.๓ ความเชื่อถือทางศาสนา ลิลิตโองการแช่งน้ำนี้แสดงถึงอิทธิพลของศาสนาพราหมณ์ในพิธีสาปแ ช่งผู้ทุจิตโดยอาศัยอำนาจของเทวดาและภูตผี ตามความเชื่อถือของพราหมณ์ ซึ่งเป็นศาสนาของอินเดียและพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยานี้ เป็นพิธีตามศาสนาพรามหมณ์ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงนำพิธีทางพุทธศาสนามาเพิ่มเติมในภายหลัง
๓. ด้านอิทธิพลต่อวรรณคดีอื่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ เป็นวรรณคดีที่ใช้ในการสวดหรืออ่านโองการแช่งน้ำของพราหมณ์ผู้ท ำพิธี ลิลิตโองการแช่งน้ำมีอิทธิพลต่อวรรณคดีสมัยหลัง ทำให้กวีเกิดความบันดาลใจแต่งวรรณคดีเรื่องอื่นขึ้น ได้แก่ โคลงพิธีถือน้ำแลคเชนทรัศวสนาน พระราชนิพนธ์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นวรรณคดีที่กล่าวถึงพระราชพิธีถือน้ำพระพิพัฒน์สัตยา