ว ร ร ณ ค ดี ไ ท ย ♥
จินดามณี
ผู้แต่ง :
พระโหราธิบดี นักกวีชาวพิจิตร เดิมอยู่ในสุโขทัย ผู้เป็นบิดาของศรีปราชญ์ทั้งเป็นโหรที่ทำนายทายทักได้แม่นยำนัก รับราชการมาตั้งแต่สมเด็จพระเจ้าปราสาททองจนถึงสมัยสมเด็จพระนารายณ์
ทำนองการแต่ง :
แต่งเป็นร้อยแก้ว มีตัวอย่างเป็นคำประพันธ์ชนิดต่างๆ เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ประกอบเนื้อหา
วัตถุประสงค์ในการแต่ง :
ด้วยเกรงว่าพวกบาทหลวงนักบวชจะพาคนไทยไปเข้ารีตเป็นคริสต์จำนวนมาก จึงโปรดฯ ให้มีการแต่งหนังสือ
ภาษาไทยขึ้นเพื่อสั่งสอนให้เด็กไทยรักชาติและศาสนาของตนเอง ไม่ไปเข้ารีต โดยจะสั่งสอนสอดแทรกไว้ในหนังสือ
สาระสำคัญ :
ขึ้นต้นเป็นบทสรรเสริญ แล้วกล่าวถึงคำศัพท์ต่างๆ ที่มีที่มามาจากภาษาสันสกฤต และคำที่มีเสียงคล้ายกัน การใช้ ศ ษ ส การใช้
ไม้ม้วนซึ่งมีทั้งหมด ๒๐ คำ และไม้มลายอีก ๘๐ คำ มีการกล่าวถึงอักษรสามหมู่ มาตราตัวสะกด การใช้เครื่องหมาย จบด้วยการแต่งกาพย์
โคลง ฉันท์ และกลบทต่างๆ พร้อมด้วยยกตัวอย่างจากวรรณคดีเรื่องอื่นและที่แต่งเพิ่มเติมเข้ามาอีก
ตัวอย่างในจินดามณี :
วิธีแต่งกาพย์กลอน
"ผิจนิพนธโคลงกาพย์ก็ดี โคลงคำกานก็ดี โคลงนิราศก็ดี โคลงสังวาษก็ดี โคลงลันโลงก็ดี โคลงห้าก็ดี จทำโสลกก็ดี พาลนมัศบูราณทำนุกทำ
เนียมกลอนลิลิต ฉันทพากย คิตยราคสมเด็จ สุรางคประวัลก็ดี ให้ประกอบศัพท คือ ราชาศัพท นารีศัพท สูตรศัพท จงรู้อิถีลึงค บุรุษลึงค"
คุณค่าและประโยชน์
๑. ด้านอักษรศาสตร์ นับเป็นหนังสือแบบเรียนเล่มแรกของไทย ยังมีอิทธิพลต่อนักปราชญ์รุ่นหลังที่ได้ใช้เป็นแบบอย่างในการจัดทำหนังสือเรียน
ภาษาไทย ในการแต่งคำประพันธ์ต่างๆ
๒. ด้านศาสนา ช่วยกันฝรั่งยุคนั้นไม่ให้รุกรานทางพระศาสนามากเกินไป
๓. ด้านการปกครอง ทำให้ได้เห็นการมองการณ์ไกลของผู้ที่จัดทำหนังสือเล่มนี้