top of page

เตภูมิกถา

ไตรภูมิพระร่วง / ไตรภูมิกถา / เตภูมิกถา

ผู้แต่ง :

พญาลิไท หรือ พระมหาธรรมราชาที่ 1

 

เตภูมิกถาหมายถึง :

3 ภูมิ หรือ 3 แดน

1. กามภูมิ

2. รูปภูมิ

3. อรูปภูมิ



วัตถุประสงค์ของผู้แต่ง :

1. เพื่อเทศนาโปรดพระมารดา เป็นการเจริญธรรมกตัญญูประการหนึ่ง

2. ใช้สั่งสอนประชาชนให้มีคุณธรรม เข้าใจพุทธศาสนา และช่วยกันดำรงพุทธศานาไว้ให้มั่นคง

 

ลักษณะการประพันธ์ :

1. เป็นวรรณคดีเล่มแรก ที่ได้มีการรวบรวมเนื้อหาสาระจากคัมภีร์ต่าง ๆ ในพุทธศาสนา, พระไตรปิฎก, อรรถกถา และ อื่น ๆ มากกว่า 30 คัมภีร์ โดย พญาลิไททรง

2. การใช้ถ้อยคำที่มีสัมผัสและความคล้องจอง ได้อย่างไพเราะ และ สละสลวย

3. ศาสนาโวหารและพรรณนาโวหาร

4. มีการเปรียบเทียบเชิงอุปมา อุปไมย และ การใช้ภาษาจินภาพ ที่ทำให้เห็นภาพได้อย่างชัดเจน อีกทั้งยังทำให้ผู้อ่านเกิดความรู้สึกคล้อยตามเป็นอย่างดี


5. วิธีการจัดเรียบเรียง

- เริ่มต้นด้วยคาถานมัสการเป็นภาษาบาลี

- บานแพนกบอกชื่อผู้แต่ง

- วันเดือนปีที่แต่ง

- ชื่อคัมภีร์ต่าง ๆ

- บอกจุดมุ่งหมายในการแต่ง



จุดเด่น :

1. - เป็นวรรณคดีโบราณที่ใช้ภาษาไทยแบบเก่า
และมีการใช้ศัพท์ทางศาสนาและภาษาไทยโบราณอยู่มาก

2. มีการใช้ภาษาตลอดจนสำนวนโวหารต่าง ๆ
ในสมัยกรุงสุโขทัย

3. อธิบายได้อย่างละเอียดและชัดเจน



ความสำคัญ :

1. ให้คนรุ่นหลังได้รับความรู้ทางวรรณคดี อันเป็นความคิดของคนโบราณ


2. เป็นพื้นฐานของวรรณคดีไทย เช่น พระอินทร์ แท่นบัณพุกัมพล ช้างเอราวัณ เขาพระสุเมรุ ป่าหิมพานต์ ต้นปาริชาติ ต้นนารีผล นรก สวรรค์ เป็นต้น


3. สอนเรื่องบาปบุญคุณโทษ ทำดีขึ้นสวรรค์ ทำบาปจะตกนรก เชื่อในผล แห่งกรรม


4. ค่านิยมในสังคม คือ การเป็นคนใจบุญ มีเมตตากรุณา รักษศีล บำเพ็ญทาน รู้จักเสียสละ


5. จิตกรนิยมนำเรื่องราวในไตรภูมิพระร่วงไปวาดเป็นภาพสีไว้ที่ผนังในโบสถ์วิหาร ตรงบริเวณด้านหลังพระประธาน โดยจะเขียนภาพสวรรค์ไว้ด้านบนและภาพนรกไว้ด้านล่าง เป็นต้น


6. เป็นวรรณคดีที่สำคัญทางศาสนา ในสมัยสุโขทัย ที่มีอิทธิพลต่อคนไทยมาก

bottom of page