ว ร ร ณ ค ดี ไ ท ย ♥
นางนพมาศ
ผู้แต่ง :
นางนพมาศ
ความเป็นมา :
ในสมัยสุโขทัย นางนพมาศ เกิดในตระกูลพราหมณ์ บิดาเป็นที่พระมโหสถมีตาแหน่งราชการเป็นปุโรหิต ในสมัยพระร่วงเจ้า ต่อมาได้เลื่อนอิสริยยศเป็นท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นสนมเอกในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท นางนพมาศแต่งหนังสือเรื่อง ตารับนางนพมาศหรือตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
เนื้อเรื่อง :
กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์ พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนังสือนางนพมาศ
จุดมุ่งหมายในการแต่ง :
เพื่อสรรเสริญพระเกียรติพระร่วงเจ้า เพื่อแสดงคุณสมบัติที่ดีของนางสนม เพื่อบันทึกพระราชพิธีทั้ง ๑๒ เดือน ที่กระทากันในสมัยกรุงสุโขทัย
รูปแบบการแต่ง :
การแต่งข้อความสาคัญ เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวถึงชาติและภาษาต่าง ๆ ยอพระเกียรติพระร่วงและเล่าชีวิตของชาวสุโขทัย ประวัตินางนพมาศเอง และพระราชพิธีต่างๆ
ลักษณะคาประพันธ์ เป็นกลอนและร้อยแก้ว เช่น “อย่าทารี ๆ ขวาง ๆ ให้เขาว่า อย่าทาเซ่อ ๆ ซ่า ๆ ให้ท่านหัว อย่าทาโปก ๆ ปาก ๆ ให้ท่านว่ากริยาชั่ว...” อย่าประพฤติตัว ก้อ ๆ ขวย ๆ ให้คนล้อ
นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วง :
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) นางได้คิดประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซี่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่าแต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
คุณค่าของวรรณคดี :
๑. คุณค่าในทางโบราณคดี หนังสือนี้มีประโยชน์มาก เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ทรงสอบสวนจากตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์
๒. คุณค่าทางวิชาการช่างสตรี กล่าวกันว่า การประดิษฐ์การลอยประทีปได้สวยงามจัดดอกไม้ประดับขันหมากรับรองแขกเมืองได้อย่างประณีต แสดงให้เห็นว่าตารับนางนพมาศเป็นบ่อเกิดแห่งวิชาการช่างสตรี
๓. ด้านพิธีกรรมต่าง ๆ สาหรับพระนคร ซึ่งเป็นแบบอย่างมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์
๔. คุณค่าด้านวรรณคดีและประวัติศาสตร์ นางนพมาศเป็นปราชญ์และกวีหญิงคนแรกในประวัติวรรณคดี
๕. ด้านขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น การถวายตัวเข้ารับราชการเป็นนางสนม เป็นต้น
หรือตารับท้าวศรีจุฬาลักษณ์