ว ร ร ณ ค ดี ไ ท ย ♥
กฤษณาสอนน้องคำฉันท์
ผู้แต่ง :
สันนิษฐานว่าพระยาราชสุภาวดีและพระภิกษุอินท์แต่งกฤษณาสอนน้องคำฉันท์ระหว่างที่พระยาราชสุภาวดีไปรับราชการที่เมืองนครศรีธรรมราช พราะยาราชสุภาวดีแต่งก่อนในตอนต้นแล้วอาราธนาพระภิกษุอินท์แต่งต่อตอนท้าย
จุดมุ่งหมายในการแต่ง :
เพื่อสอนกุลสตรีในสมัยนั้น มีเค้าโคลงเรื่องมาจากมหาภารตะของอินเดียเป็นเรื่องที่แต่งมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาแล้ว แต่ต้นฉบับคงจะสูญหายไป พระยาราชสุภาวดี และพระภิกษุอินท์จึงแต่งขึ้นใหม่ ดังกล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า
นางกฤษณานารถ ก็มีเรื่องบริบูรณ์
สมุดเดิมก็เศร้าสูญ สลายลบบเป็นผล
ลักษณะคำประพันธ์ :
แต่งเป็นคำฉันท์ ส่วนใหญ่เป็นกาพย์ฉบังและกาพย์สุรางคนางค์
เนื้อเรื่อง :
ท้าวพรหมทัตแห่งกรุงพาราณสีมีพระธิดา ๒ องค์คือ นางกฤษณาและนางจิรประภา เมื่อพระบิดาจัดพิธีสยุมพร นางกฤษณามีพระภัสดา ๕ พระองค์ และนางสามารถรับใช้ปรนนิบัติพระภัสดาได้ดี พระภัสดาต่างก็รักนาง ส่วนนางจิรประภามีภัสดาองค์เดียวแต่ทำหน้าที่บกพร่อง นางจิรประภาเข้าใจว่านางกฤษณามีเวทมนต์สามารถผูกใจชายจึงมาขอเรียนบ้าง นางกฤษณาชี้แจงว่าการที่สามีรักใคร่มิใช่มีเวทมนต์ผูกใจชาย แต่อยู่ที่การเป็นแม่บ้านแม่เรือนที่ดี รู้จักหน้าที่ของภรรยา อยู่ในโอวาทของสามี นางจิรประภาจึงนำคำสอนของนางกฤษณาไปปฏิบัติ
คุณค่าของหนังสือ :
๑. ด้านวรรณคดี หนังสือเรื่องนี้ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ทรงนิพนธ์ขึ้นอีกสำนวนหนึ่งภายหลัง มีใจความคล้ายกัน
๒.ด้านสังคม หนังสือกฤษณาสอนน้องคำฉันท์เป็นวรรณคดีประเภทสอนใจเช่นเดียวกับสุภาษิต และเป็นเรื่องแสดงให้เห็นวัฒนธรรมของไทยที่สอนความประพฤติของสตรีและหน้าที่ของภรรยาที่ดี หนังสือเล่มนี้นับว่ามีอิทธิพลต่างความคิดของคนไทยมาก