top of page

โคลงกำสรวล

ผู้แต่ง : 
เคย เชื่อกันมาแต่เดิมว่า ศรีปราชญ์ผู้แต่งโคลงกำสรวลถูกเนรเทศไปนครศรีธรรมราช ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และหญิงที่ศรีปราชญ์คร่ำครวญอาลัย คือ พระสนมศรีจุฬาลักษณ์ แต่มีผู้ออกความเห็นค้านความเชื่อดังกล่าวว่าเรื่องโคลงกำสรวล ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเมืองนครศรีธรรมราช กล่าวถึงเส้นทางการเดินทางจากกรุงศรีอยุธยาไปสุดแค่จังหวัดประจ วบคิรีขันธ์ ทั้งไม่ได้กล่าวถึงความทุกข์ร้อนและมูลที่ต้องเนรเทศ เมื่อพิจารณาถึงลักษณะคำประพันธ์และถ้อยคำสำนวนภาษาที่ใช้โคลงก ำสรวลน่าจะแต่งในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น


ทำนองแต่ง :
แต่งด้วยโคลงตั้งบาทกุญชร บทแรกเป็นร่ายดั้น มีร่าย ๑ บท โคลงดั้น ๑๒๙ บท
 

ความมุ่งหมาย :
เพื่อแสดงความอาลัยคนรัก ซึ่งผู้แต่งต้องจากไป


เรื่องย่อ : 
เริ่มด้วยร่ายสดุดีกรุงศรีอยุธยาว่ารุ่งเรืองงดงาม เป็นศูนย์กลางแห่งพุทธศาสนา ราษฎรสมบูรณ์พูนสุข ต่อจากนั้นกล่าวถึงการที่ต้องจากนาง แสดงความห่วงใย ไม่แน่ใจว่าควรจะฝากนางไว้กับผู้ใด  เดินทางผ่านตำบลหนึ่ง ๆ ก็รำพันเปรียบเทียบชื่อตำบลเข้ากับความอาลัยที่มีต่อนาง ตำบลที่ผ่าน เช่น บางกะจะ  เกาะเรียน  ด่านขนอน  บางไทรนาง  บางขดาน  ย่านขวาง  ราชคราม ทุ่งพญาเมือง   ทะเลเชิงราก  นอกจากนี้ได้นำบุคคลในวรรณคดีมาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ในชีวิต ของตน เกิดความทุกข์ระทมที่ยังไม่ได้พบนางอีกอย่างบุคคลในวรรณคดีเหล่านั้น   โดยกล่าวถึง พระรามกับนางสีดา   พระสูตรธนู(สุธนู)กับนางจิราประภา   และ พระสมุทรโฆษกับนางพิษทุมดีว่าต่างได้อยู่ร่วมกันอีก ภายหลังที่ต้องจากกันชั่วเวลาหนึ่ง การพรรณนาสถานที่สิ้นสุดลงโดยที่ไม่ถึงนครศรีธรรมราช


คุณค่า :
         ในด้านภาษา โคลงกำสรวลใช้คำที่เป็นภาษาโบราณ ภาษาถิ่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤตและภาษาเขมรอยู่มาก
        โคลงกำสรวลแสดงให้เห็นความวิจิตตระการตาของปราสาทราชวัง และวัดวาอารามของกรุงศรีอยุธยา ความเป็นอยู่ของประชาชนในด้านการแต่งกาย  อาหารการกิน  การเล่นรื่นเริง และสภาพภูมิศาสตร์เส้นทางการเดินทางของกวี

bottom of page